วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความ 1-8

บทความที่ 1
ความหมายของ Flash Drive, Thumb drive,  Handy drive
Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Flash Drive เป็นอุปกรณ์นวัตกรรม IT ที่ในอนาคตทุกคนจะต้องมีและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และมีประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ:
    •  ความจุข้อมูลสูง ตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB
    •  ใช้เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท ทั้งไฟล์ข้อมูล, เอกสาร, พรีเซ็นเตชั่นสไลด์, เพลง MP3, รูปภาพดิจิตอล, วีดีโอ, และอื่นๆ
    •  สามารถใช้ได้ทันทีกับคอมพิวเตอร์และโน็ตบุ๊ค ทุกเครื่องทุกระบบ
    •  สามารถใช้ได้กับ Windows, Linux, Apple iMac, Apple iBook
    •  สะดวกในการใช้งาน เพียงแค่เสียบ Flash Drive เข้าช่องต่อ USB
    •  ใช้งานง่าย คุณสามารถทำการเขียน/อ่าน/ลบ/แก้ไข ข้อมูลในนั้นได้โดยตรงเหมือนกับฮาร์ดดิสไดร์ฟปกติ
    •  มีความทนทานสูง ทั้งภายในและภายนอก
    •  เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีที่มีความทนทานสูงที่สุดในปัจจุบัน Solid-State Storage Technology
    •  เวลาใช้งาน ข้อมูลของคุณจะปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดการตกหล่น กระแทก หรือขูดขีด
    •  มีขนาดเล็ก บาง เบา สามารถพกติดตัวได้สะดวก
    •  ใช้เล่นเพลง MP3 ได้ (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)



Thumb drive  คือชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของ USB Flash drive มีความหมายเช่นเดียวกับชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น  Handy drive, Jet drive  คือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่มีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ถึง 8 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Handy drive (แฮนดี้ไดร์ฟ) คือ ชื่อทางการค้าของสื่อจัดเก็บประเภทแฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ด้วยพอร์ตยูเอสบี (USB Port) คะ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับยูเอสบีแฟลชเมมโมรี่ (usb flash memory) ที่ถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น Thumb Drive, Flash Dirve, Jet Drive ฯลฯ
อ้างอิง     http://www.bcoms.net/tipcomputer/detail.asp?id=1578
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1783bd8ed3caefbf
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=55a43939ea8af46b



บทความที่ 2
กิ๊ก(กะไบต์)
ตั้งใจจะเขียนคำนี้มานานแล้ว เพราะเคยได้ยินเรียกหน่วยของความจำคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือหรือกล้องถ่ายรูปว่า กิ๊กกะไบต์ หรือ จิ๊กกะไบต์ บ้าง จริงๆแล้วเขาเรียกว่าอย่างไร ก็คงต้องดูความหมายทีละคำ คำว่า กิ๊ก ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง "กิ๊กของขาโจ๋" ที่เป็นคำเรียกความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างบุคคล (short-term relationship) โดยจะแตกต่างกับคำว่ากับความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เรียกว่า แฟน(เขาละไว้เป็นที่เข้าใจ)...มาต่อกันที่คำวันนี้ของเรากันดีกว่า
ความจริงแล้วคำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า gigabyte อ่านว่า กิกะไบต์ ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ) คำว่า giga มีค่าเท่ากับ พันล้าน
ส่วนคำว่า ไบต์ เป็นหน่วยความจำของตัวเลขฐานสองเท่ากับ 8 บิต โดยที่บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล โดยข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) และ1 (เปิด) โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit)
ดังนั้นเพื่อไม่ให้ยุ่งยากหรือเป็นศัพท์เทคนิคมากไป ก็คงพอจะสรุปได้ว่า กิกะไบต์ ใช้เป็นหน่วยความจำของข้อมูลดิจิตอล เรียกกันย่อๆโดยทั่วไปว่า กิ๊ก อาจจะเทียบความจุเป็นเพลงก็ได้ราว 200 กว่าเพลง ถ้าเป็น 2 กิ๊ก(ไม่ใช่มีกิ๊กสองคน) ก็จะจุได้ประมาณ 500 เพลง
ที่กล่าวมาเป็นความจุของข้อมูลในรูปดิจิตอล แต่ความจุในสมองของคนเรามีมากมายมหาศาล ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่ หากไม่ใช้สมองคิดก็จะทำให้ความจุยิ่งลดลง ดังนั้นหากต้องการให้สมองมีความจำมากเท่าไรก็ต้องรู้จักคิด
อ้างอิง http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_03749.php



บทความที่ 3
Facebook  คืออะไร?
Facebook (เฟสบุ๊ค) คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ, โพสต์รูปภาพ , โพสต์คลิปวิดีโอ, เขียนบทความหรือบล็อก, แชทคุยกันแบบสดๆ , เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ จนเรียกได้ว่าเลือกใช้กันทั้งปีก็ไม่หมดครับ ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ Facebook ยังเปิดโอกาสให้เราได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ ทั้งเพื่อนซี้ เพื่อนเก่าก๊วนรัก เพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนร่วมชมรม เพื่อนของเพื่อนของเพื่อน เพื่อนเราคนบ้าน เดียวกัน และไม่นานนักเราก็จะได้พบกับเพื่อนใหม่ที่ถูกใจจริงๆ
หน้าตาของ Facebook



บทความที่ 4
Social Network คืออะไร
Social network แหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลและความสัมพันธ์บนโลกอินเตอร์เน็ท จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพกัน อาทิเช่น ปกติเหล่าแม่บ้านจะจับเข่าเม้าส์กันกับบรรดาเพื่อนบ้านใกล้เคียง เมื่อเป็น social network แม่บ้านจะสามารถเข้าเว็บไซต์ เพื่อทำการเลือกกลุ่มที่สนใจ (กลุ่มแม่บ้าน) แล้วเข้าไปเหล่าเรื่องที่ตนเองพบเจอมา สักพักเมื่อเวลาผ่านไป บรรดาเหล่าแม่บ้านจากทั่วโลก จะเข้ามาแชร์ประกบการณ์ในเรื่องที่แม่บ้านได้เขียนไว้ คุณผู้อ่านพอจะมองเห็นภาพกันบ้างไหมว่า นี้คือโลกที่สามยุคที่อะไรก็ไม่อาจจะหยุดยั้งไว้ได้แล้ว
10 อันดับ Social Network ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้
1. MySpace.com
2. FaceBook.com
3. Orkut.com
4. Hi5.com
5. Vkontakte.ru
6. Friendster.com
7. SkyRock.com
8. PerfSpot.com
9. Bebo.com
10. Studivz.net
อ้างอิง http://community.blogtika.com/?title=social-network&more=1&c=1&tb=1&pb=1



บทความที่ 5
อินเทอร์เน็ตคืออะไร
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์
จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol)
เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์
ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน
เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ(สหรัฐอเมริกา)
กับรัสเซียเนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการ
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์สามารถสั่งการและทำงานได้
ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูหรือขีปนาวุธ
นิวเคลียร เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วน
ถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัย
และพัฒนาระบบ เครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA(Advanced Research Projects Agency)
และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า “อินเทอร์เน็ต” (Internet)
ในปัจจุบัน
อ้างอิง  http://school.obec.go.th/kudhuachang/les01.htm



บทความที่ 6
Rom กับ Ram แตกต่างกันอย่างไร
Rom จะใช้บันทึกข้อมูล หรือโปรแกรม มาจากโรงงาน จะเขียนซ้ำก็ได้แต่ต้องมีโปรแกรมหรือเครื่องมือ ลักษณะการเขียนข้อมูลกึ่งถาวร เช่น Rom บนเมนบอร์ดใช้ใส่โปรแกรมไบออส
Ram เป็นที่บันทึกข้อมูลชั่วคราว ปิดไฟเลี้ยงข้อมูลก็หาย ต่างกับ Rom แม้ไม่มีไฟเลี้ยงข้อมูลก็ยังอยู่ ใชัสำหรับบันทึกข้อมูลของโปรแกรมต่างๆของวินโดส์ ยามที่เราเรียกใช้งานโปรแกรมนั้น เมื่อเราปิดโปรแกรมนั้น ข้อมูลก็จะถูกลบไป ram ก็จะว่างอีก ปกติวินโดส์ก็จะมีโปรแกรมต่างๆทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็อาศัย Ram บันทึกข้อมูลชั่วคราว
ดังนั้นจะเห็นว่า ram ยิ่งมากก็จะมีผลดีต่อประสิทธิภาพของวินโดส์
อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=490d4534c0e81c30



บทความที่ 7
ไฟร์วอลล์ คือ
ไฟร์วอลล์ คือเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันเน็ตเวิร์กจากการสื่อสารทั่วไปที่ไม่ได้รับ อนุญาต โดยที่เครื่องมือที่ว่านี้อาจจะเป็นHardware Software หรือ ทั้งสองรวมกันขึ้นอยู่กับวิธีการหรือ Firewall Architecture ที่ใช้ไฟร์วอลล์ เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในเชิงการป้องกัน (Protect) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการเข้าถึงเน็ตเวิร์ก (Access Control) โดยอาศัยกฎพื้นฐานที่เรียกว่า Rule Base ปัญหาความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก คือ การควบคุมการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลภายในเน็ตเวิร์ก หรือที่เรียกว่า ซึ่งก่อนที่จะเกิดLogical Access ได้นั้นต้องทำการสร้างการเชื่อมต่อ (Logical Conection) และการเชื่อมต่อนั้นต้องใช้ Protocol ดังนั้นไฟร์วอลล์จึงจะทำหน้าที่ตรวจสอบการเชื่อมต่อภายในเครือข่าย ให้เป็นไปตามกฏ
คุณสมบัติของ Firewall
คุณสมบัติทั่วไปของ Firewall นั้นจะมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันคือ
1. Protect
ไฟร์วอลล์ เป็นเครื่องมือที่ทำงานในเชิงการป้องกัน โดย packet ที่จะสามารถผ่านเข้า-ออกได้นั้น จะต้องเป็น packet ที่มันเห็นว่าปลอดภัย หาก packet ใดที่มันเห็นว่าไม่ปลอดภัย มันก็จะไม่อนุญาตให้ผ่าน โดยการตัดสินว่า packet ปลอดภัยหรือไม่นั้นขึ้นอยูกับกฎพื้นฐานที่Administrator ได้กำหนดไว้
2. Access Control
ไฟร์วอลล์จะควบคุมการ Access ของ Host ต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎพื้นฐานที่ Administrator ได้กำหนดไว้
3. Rule Base
ไฟร์วอลล์ จะทำการควบคุมการ Access โดยอาศัยการเปรียบเทียบคุณสมบัติของ Packet ที่จะผ่านเข้า-ออก กับกฎพื้นฐานที่Administrator ได้กำหนดไว้ หากพบว่าไม่มีกฎห้ามไว้ก็จะอนุญาติให้ผ่านไปได้ แต่ถ้ามีกฎข้อใดข้อหนึ่งห้ามมันก็จะไม่ยอมให้ผ่าน
ประเภทของไฟร์วอลล์
ประเภทของไฟร์วอลล์แบ่งตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบและควบคุมได้ 3 ชนิด คือ
1. Packet Filtering
เป็น Firewall พื้นฐานที่ควบคุม traffic ไปตามทางที่เหมาะสมเพียงทางเดียว โดยอาศัยการตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฎอยู่ใน packet เปรียบเทียบกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ Firewall ประเภทนี้ส่วนมากจะติดตั้งอยู่บน router จึงเรียก Firewall ชนิดนี้ว่า Screening Router
ข้อดีของ Screening Router
- ราคาถูกเพราะเป็นคุณสมบัติที่มีใน router อยู่แล้ว
- หาก Network ไม่ใหญ่มากนักสามารถใช้งานแทน Firewall ได้
- การใช้ Screening Router ควบคู่กับ Firewall จะช่วยแบ่งภาระของ Firewall ได้มาก
- สามารถใช้ป้องกันบางประเภทที่ Firewall ไม่สามารถป้องกันได้
ข้อเสียของ Screening Router
- การใช้งานยาก และไม่มีมาตรฐานกลาง
- ไม่สามารถกำหนดกฎที่ซับซ้อนได้ และมีความสามารถจำกัด
- อาจทำให้ Network ช้าได้
2. Circuit-Level (Statefull Firewall)
เป็น Firewall ที่ทำงานโดยที่สามารถเข้าใจสถานะของการสื่อสารทั้งกระบวนการ โดยแทนที่จะดูข้อมูลจากเฮดเดอร์เพียงอย่างเดียว Statefull Inspection จะนำเอาส่วนข้อมูลของแพ็กเก็ต (message content) และข้อมูลที่ได้จากแพ็กเก็ตก่อนหน้านี้ที่ได้ทำการบันทึกเอาไว้ นำมาพิจารณาด้วย จึงทำให้สามารถระบุได้ว่าแพ็กเก็ตใดเป็นแพ็กเก็ตที่ติดต่อเข้ามาใหม่ หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมต่อที่มีอยู่แล้ว
ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่ใช้ Statefull Inspection Technology ได้แก่ Check Point Firewall-1, Cisco Secure Pix Firewall, SunScreen Secure Net และส่วนที่เป็น open source แจกฟรี ได้แก่ NetFilter ใน Linux (iptables ในลีนุกซ์เคอร์เนล 2.3 เป็นต้นไป)
ข้อดีของ Statefull Firewall
- ใช้งานง่าย เพราะถูกออกแบบมาทำหน้าที่ Firewall โดยเฉพาะ
- ประสิทธิภาพสูง เพราะถูกออกแบบมาทำหน้าที่ Firewall โดยเฉพาะ
- สามารถทำ IDS เพื่อป้องกันการโจมตีได้
- การกำหนด Access Ruleทำได้ง่าย
- สามารถเพิ่มบริการอื่นๆได้
- มีความสามารถในการทำ Authentication
- การสื่อสารระหว่าง Firewall กับ Administration Console มีความปลอดภัยสูง
ข้อเสียของ Statefull Firewall
- ราคาแพง
- มีความเสี่ยงต่อการถูกเจาะระบบในระดับ OS ที่ตัว Firewall ติดตั้ง
- ผู้ใช้จำเป็นต้องอาศัยผู้ผลิตค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ Firewall ประเภท Network Appliance คือ เป็น
ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
3. Application Level Firewall (Proxy)
เป็น แอพพลิเคชันโปรแกรมที่ทำงานอยู่บนไฟร์วอลล์ที่ตั้งอยู่ระหว่างเน็ตเวิร์ก 2 เน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่เพิ่มความปลอดภัยของระบบเน็ตเวิร์กโดยการควบคุมการเชื่อมต่อระ หว่างเน็ตเวิร์กภายในและภายนอก Proxy จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากเนื่องจากมีการตรวจสอบข้อมูลถึงในระดับของ แอพพลิเคชันเลเยอร์ (Application Layer)
ลักษณะการทำงานของ Application Level Firewall นั้นคือเมื่อไคลเอนต์ต้องการใช้เซอร์วิสภายนอก ไคลเอนต์จะทำการติดต่อไปยัง Proxy ก่อน ไคลเอนต์จะเจรจา (negotiate) กับ Proxy เพื่อให้ Proxy ติดต่อไปยังเครื่องปลายทางให้ เมื่อ Proxy ติดต่อไปยังเครื่องปลายทางให้แล้วจะมีการเชื่อมต่อ (connection) 2 การเชื่อมต่อ คือ ไคลเอนต์กับ Proxy และ Proxy กับเครื่องปลายทาง โดยที่ Proxy จะทำหน้าที่รับข้อมูลและส่งต่อข้อมูลให้ใน 2 ทิศทาง ทั้งนี้ Proxy จะทำหน้าที่ในการตัดสินใจว่าจะให้มีการเชื่อมต่อกันหรือไม่ จะส่งต่อแพ็กเก็ตให้หรือไม่
ข้อดีของ Application Level Firewall (Proxy)
- สามารถควบการติดต่อสื่อสารระหว่าง Internet กับ Network ในระดับ Application เท่านั้น ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามใน ระดับ Network Layer
- สามารถเพิ่มหน้าที่อย่างอื่นเข้าไปได้ เช่นการควบคุมการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการได้
- สามารถทำการแคชข้อมูลไว้ที่ตัว proxy สำหรับข้อมูลที่ใช้บ่อย ทำให้เพิ่มความเร็วในการใช้งานในครั้งต่อไป
- การใช้งานแบนด์วิดธ์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- มีความสามารถในการตรวจสอบผู้ใช้ (User Authenticate)
- มีความสามารถในการกลั่นกรองเนื้อหาได้ (Content Filtering)
ข้อเสียของ Application Level Firewall (Proxy)
- ใช้ได้กับ Application บางตัวเท่านั้น
- ไม่สามารถใช้งานกับ Application ที่ต้องการการสื่อสารโดยตรงแบบ end-to-end ได้
- เสี่ยงต่อการละเมิดความเป็นส่วนตัว
- จำเป็นต้องมี proxy หลายตัวหากต้องการใช้งานหลาย Application
- อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาคอขวดได้
- เสี่ยงต่อการโดนโจมตีแบบ DoS
ติดตั้ง Firewall แล้วปลอดภัยจริงหรือ ?
ผู้ ขายทุกรายจะบอกว่าผลิตภัณ์ Firewall ของเข้านั้นป้องกันภัยคุกคามได้ทุกๆ อย่างแบบครอบจักรวาล (ว่าไปนั้น) และผู้ใช้ส่วนมากจะเข้าใจว่า Firewall สามารถช่วยป้องกันระบบเครือข่ายให้ปลอดภัยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นอย่างนั้น เนื่องจาก Firewall นั้นมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนี้
สิ่งที่ Firewall สามารถป้องกันได้
1. Network Scanning – ด้วยคุณสมบัติที่ Firewall สามารถควบคุมการเข้า-ออก ของ packet ได้ มันจึงสามารถจำกัดปลายทางของ packet ที่ผ่านเข้ามาเฉพาะ Host ที่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อได้เท่านั้น
2. Host Scanning – Firewall จะทำการตรวจจับการ scan เพื่อหาว่ามีการรัน Service อะไรบ้างบน host
3. Inbound Access - ควบคุมการเข้ามาของ packet เฉพาะที่ได้รับอนุญาตตาม Rule Base
4. Outbound Access - ควบคุมการออกไปของ packet เฉพาะที่ได้รับอนุญาตตาม Rule Base
5. การลักลอบส่งข้อมูล
6. Network Denial of Service – ป้องกันการก่อกวนเพื่อไม่ให้ Host สามารถให้บริการได้ เช่นการทำให้เน็ตเวิร์กท่วมไปด้วยข้อมูล (Network Flooding) ทำการส่ง packet จำนวนมากไปยัง Host เพื่อขอใช้บริการ (SYN Flooding)
7. Trojan Horse, Backdoor, Back Orifice
สิ่งที่ Firewall ไม่สามารถป้องกันได้
1. Hacker
2. Allowed Services
3. Application Vulnerability
4. OS Vulnerability
5. Virus
6. การดักอ่านข้อมูลโดย Sniffer
7. Spammed Mail
8. Administration Mistake
อ้างอิง http://itm51.justboard.net/t97-topic



บทความที่ 8



3G และ 4G
3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
              ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น
                 เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี
              3G น่าสนใจอย่างไร
              จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่
              เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น
              3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”
              คุณสมบัติหลักของ 3G คือ
              มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล
              ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC
4G ( Forth Generation )
เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
ลักษณะเด่นของ 4G
 4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน  เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G  เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก  คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps  เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย  ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว  หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน  ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G  กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง  เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง  สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ  ดังนั้น  การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า  3G ก่อนคู่แข่ง  น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย  นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่  เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ 
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย  เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง  ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้
 ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ “4G เฉพาะกิจ” เพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง” (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน



 แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า  สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย



พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
            หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้






ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ
GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System – Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps
ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps
ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป



หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G
          ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย 
นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ  ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์  กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม  และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น
หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว  เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps
 สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย)  การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น
จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน
"4 จี" เทคโนโลยีที่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ทางด่วนข้อมูล
เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว
ทั้งนี้ มาตรฐาน 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที อยู่หลายขุมมาก
สุดยอดของมือถือ
ในส่วนของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งใช้เทคโนโลยี 4จีนั้น จะสามารถส่งภาพวิดีโอที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับภาพจากโทรทัศน์ระบบความคมชัดสูง และชัดเจนกว่าภาพในโทรทัศน์ปกติถึง 2 เท่า รวมทั้งสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้เร็วกว่าระบบ 3จี ในปัจจุบันของบริษัทโดโคโมถึง 260 เท่า
อีกทั้งยังรองรับการให้บริการด้านเนื้อหามัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งคุณสมบัติด้านโปรแกรมไอดี (ID) ที่ช่วยให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถพิสูจน์ถึงความเป็นตัวบุคคลนั้นๆ ได้
ตัวแทนบริษัทโดโคโม กล่าวอีกว่า เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทจับมือกับฮิวเลตต์-แพคการ์ด โค. (Hewlett-Packard Co.) เพื่อร่วมกันพัฒนาโปรแกรมสำหรับการส่งผ่านข้อมูลมัลติมีเดีย และโปรแกรมด้านเครือข่ายผ่านทางเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง 4จี
โดยโทรศัพท์รุ่นใหม่ดังกล่าว จะสามารถส่งผ่านข้อมูลด้วยอัตราความเร็วกว่า 20 เมกะบิตต่อวินาที หรือเหนือกว่าอัตราความเร็วในการส่งผ่านของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันถึง 2,000 เท่า และเหนือกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับยุคที่สาม หรือ 3จี ถึง 10 เท่า
หน่วยงานราชการเตรียมปรับใช้
อย่างไรก็ดี กระทรวงการบริหารราชการ กระทรวงมหาดไทย รวมถึงกระทรวงไปรษณีย์ และโทรคมนาคม ของญี่ปุ่น เตรียมแผนจะพัฒนาเทคโนโลยี 4จี ที่สำคัญขึ้นในปี 2548 และนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2553
บริษัท โดโคโม กลายเป็นผู้ให้บริการรายแรกของโลกที่เปิดให้บริการ 3จี เมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจาก มีราคาแพง อายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้น และพื้นที่ให้บริการจำกัด
กสท.ตั้งท่าปรับซีดีเอ็มเอสู่เทคโนโลยีแอลทีอี รุกทำ 4 จี ชี้ระหว่างรอเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยียังลุยทำเงินจากซีดี เอ็มเอ เดินหน้ารวมโครงข่ายซีดีเอ็มเอ 76 จังหวัด
       
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบซีดีเอ็มเอ อยู่ที่การแยกทำตลาดเป็น 2 ส่วน คือ 25 จังหวัดในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ทำตลาดภายใต้ชื่อฮัทช์ ขณะที่ใน 51 จังหวัดทำตลาดภายใต้ชื่อแคท ซีดีเอ็มเอ ดังนั้น เมื่อเข้ารับตำแหน่งจะเร่งเดินหน้ารวมโครงข่ายซีดีเอ็มเอ 76 จังหวัดให้เป็นหนึ่งเดียว คาดว่าการเจรจาซื้อขายโครงข่ายซีดีเอ็มเอและสิทธิในการทำตลาดของฮัทช์จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
       
นายจิรายุทธ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพิจารณาว่าจะมีการปรับเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงข่ายซีดีเอ็มเอหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสามารถทำตลาดได้ครอบคลุม เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถโรมมิ่งระบบเมื่อเดินทางไปต่างประเทศได้ รวมทั้งไม่สามารถนำ   ซิมการ์ดใส่ในโทรศัพท์มือถือระบบจีเอสเอ็มได้ เบื้องต้นมองว่าอาจปรับจากเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอเป็นเทคโนโลยีแอลทีอี หรือ ลอง เทอร์ม อีโวลูชั่น (Long Term Evolution : LTE) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 (4 จี) ที่จะหลอมรวมระบบจีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ ให้ทำงานร่วมกันได้ ส่งผล   ให้ข้อจำกัดดังกล่าวหายไป คาดว่าอีก 2 ปีเทคโนโลยีแอลทีอีจะมีการใช้งานเป็นมาตร ฐานเหมือนจีเอสเอ็ม
       
ทั้งนี้ เทคโนโลยี 4 จี จะช่วยให้ผู้ ใช้มือถือใช้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น โดยสามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงกว่า 3 จี ปัจจุบันโครงข่ายซีดีเอ็มเอใน 51 จังหวัด มีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้เทียบเท่า 3 จี.
ที่มา : http://www.tlcthai.com/webboard/
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/
ที่มา : http://www.obec.go.th/show_news.php?article_id=56
จาก http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหา บทที่ 1-13

สรุปบทที่ 1
บทนำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์นำมาใช้ในเกือบทุกสาขาอาชีพ เช่น อุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ร้านค้า และสถาบันการศึกษาคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหลายส่วน ซึ่งสามารถแบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น อุปกรณ์ป้อนข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล อุปกรณ์ประมวลผล และอุปกรณ์เก็บข้อมูล
คำศัพท์ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์หมายถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่กับ
คอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์หมายถึงคำสั่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน ซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดในคอมพิวเตอร์คือ ระบบปฏิบัติการ ซึ่งควบคุมและจัดการฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
คุณสามารถใช้ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนอื่น โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น กลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ เรียกว่า เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นกลุ่มของเครือข่ายซึ่งเชื่อมโยงถึงกัน
ประสิทธิภาพและคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ จะมีให้เลือกมากมาย ทั้งรูปทรง ขนาด และประสิทธิภาพ
ซึ่งได้แก่ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์มือถือและคอมพิวเตอร์แท็บเบล็ต
คอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะมีหน่วยความจำ ซึ่งใช้เพื่อบันทึกข้อมูลที่ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใช้ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ใช้จะปรากฏอยู่ในรูปของ 0 กับ 1 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันจะ
ทำงานแตกต่างกัน โปรแกรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยให้คุณสามารถจัดเรียงตัวเลข เขียนจดหมายหรือข้อเสนอ จัดการบันทึกข้อมูล และสร้างรูปภาพ โปรแกรมสื่อสารช่วยให้
คุณสามารถพูดคุยกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนอื่น คุณสามารถใช้โปรแกรมเพื่อความบันเทิง เพื่อดูภาพยนตร์ ฟังเพลง หรือเล่นเกม
ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และช่วยจัดการแฟ้ม และโฟลเดอร์บนคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น Windows XP ประกอบด้วย GUI ซึ่งช่วยเพิ่มความ
สะดวกในการบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ส่วน Windows Explorer เป็นโปรแกรมในระบบปฏิบัติการ Windows ที่จะช่วยให้คุณสามารถค้นหาและเปิดแฟ้มและโฟลเดอร์ต่างๆ แต่ละแฟ้มมีรูปแบบที่เกี่ยวข้องกัน โดยระบบปฏิบัติการจะตัดสินใจเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเปิดแฟ้มนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบแฟ้ม
โอกาสในการทำงาน
ปัจจุบัน มีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ในครัวเรือนไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ คุณสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจัดการบันทึก แลกเปลี่ยนข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกรรมในแต่ละวันเพื่อสร้างเป็นรายงาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้สำหรับการซื้อขายแบบออนไลน์ และการตรวจสอบราคาหุ้น และด้วยการใช้งานที่แพร่หลายนี้เอง ทำให้เกิดโอกาสในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพียงคุณมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง คุณก็สามารถเป็นผู้ที่ทำงานด้านสารสนเทศ ผู้มีวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ ( computer ) มาจากภาษาลาติน หมายถึง เครื่องคำนวณชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ โดยการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อน หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการดึงคำสั่งมาเพื่อนำไปปฏิบัติงาน และจะให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
คุณสมบัติพิเศษของคอมพิวเตอร์
1. สามารถทำงานได้รวดเร็วได้อย่างรวดเร็ว
2.สามารถเก็บหน่วยความจำได้มาก
3.ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
4.ข้อมูลที่ได้ถูกต้องและแม่นยำ
5.สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้
การนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ
1. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานส่วนตัว
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมาก ผู้คนจึงนิยมซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานส่วนตัวที่บ้าน เรียกว่า โฮมคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่นำไปใช้ในด้านงานเอกสาร เก็บข้อมูลส่วนตัว วิเคราะห์รายรับรายจ่ายของครอบครัว เล่นเกม หรือเพื่อความบันเทิงจากระบบมัลติมีเดีย
2. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานการเงินและบัญชี
งานประเภทนี้ต้องใช้ตัวเลขเป็นจำนวนมาก การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมาก การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากโดยเฉพาะในธุรกิจขนาดใหญ่ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น เช่น การวางระบบคอมพิวเตอร์สำหรับออกแบบใบทวงหนี้ การออกใบเสร็จรับเงิน การทำประวัติและบัญชีลูกค้า การทำบัญชีเงินเดือน เป็นต้น
3. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
ธนาคารทุกแห่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการฝากหรือถอนเงิน ความถูกต้องและรวดเร็วในการให้บริการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด นอกจากนี้ยังมีบริการด้านสินเชื่อ เงินกู้ การแลกเปลี่ยนเงินตรา การถอนเงินแบบ ATM เป็นต้น การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ทำให้งานทุกด้านมีความคล่องตัวสูงทุกด้าน เช่น การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน การตลาด ลูกค้าจะได้รับความสะดวกในการฝากถอนเงิน และสามารถตรวจสอบสถานะทางการเงินได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
4. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสำรองที่นั่ง
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บชื่อผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยว วันเวลาเดินทาง สถานที่จะขึ้นหรือลง สายการบิน เที่ยวบิน และจำนวนที่นั่งของยานพาหนะ จะทำให้เจ้าหน้าทีทราบสถานะและเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อถึงกันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับช่วงผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวได้ทันท่วงที
5. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมที่ทันสมัยแทบทุกแห่ง ได้นำคอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิตเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นโดยมีการควบคุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต จนกระทั่งคุณภาพของสินค้าสำเร็จรูปที่ออกมาจากโรงงานก่อนที่จะนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้า คอมพิวเตอร์จะรายงานอุปสรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก้ไขอัตโนมัติ งานจึงไม่หยุดชะงัก
6. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ
งานออกแบบทั่วไป เช่น การออกแบบก่อสร้าง ออกแบบเครื่องยนต์ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นงานที่ต้องรอบคอบ สิ้นเปลืองแรงงานและเวลา ปัจจุบันได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบ เรียกว่า โปรแกรม CAD (Computer Aided Design) เช่น โปรแกรม AUTOCAD และคอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตทางอุตสาหกรรมเรียกว่า CAM (Computer Aided Manufacturing) มาอำนวยความสะดวกในการเขียนแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ ปรับปรุงแก้ไข
7. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษา
ประเทศไทยได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการศึกษาไม่น้อยกว่า 20 ปีมาแล้ว โดยนำมาใช้ในหลายลักษณะ เช่น ในการเรียนการสอนโดยเปิดสอนวิชาของคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับวิชาอื่น ๆ นอกจากนี้ยังนำมาช่วยในงานบริหาร เช่น การทำระเบียนประวัติของนักศึกษาช่วยงานทะเบียนและงานแนะแนว การเก็บเงินลงทะเบียนเรียนของงานการเงิน งานวัดผลช่วยตัดเกรดและคิดเกรดเฉลี่ยสะสม งานทำใบ รบ. หรือใบประกาศนียบัตร ฯลฯ
ปัจจุบันได้พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อช่วยสอน ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) ในวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และแม้กระทั่งวิชาของคอมพิวเตอร์เอง มีภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงเสมือนจริง นักเรียนจึงสนใจมากขึ้น ได้สนุกสนานกับการเรียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายในการแสวงหาความรู้อีกต่อไป
8. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
วงการแพทย์ได้ใช้คอมพิวเตอร์ ในการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หัวใจ อวัยวะภายใน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ผลรังสีเอ็กซ์ที่ผ่านเข้าไปในคนไข้ โดยการแสดงข้อมูลบนจอภาพ เรียกว่า เอ็กเรย์โทโมกราฟี “ (X – Ray Tomography) ภาพทีได้เป็นภาพตัดขวางทีละแนว นอกจากนี้ยังนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงานในโรงพยาบาล เช่น การจองเตียงคนไข้ คุมสต๊อกยา ระเบียนคนไข้
9. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการคมนาคมและการสื่อสาร
ปัจจุบันการคมนาคมและการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นข่าวสารด้านวิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์เข้าควบคุมและจัดการทั้งสิ้น เช่น การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์
10. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านนันทนาการ
เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ทั่วไป ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบมัลติมีเดีย ทำให้คอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเครื่องเสียง รวมกับโทรทัศน์ รวมกับวิดีโอ และคอมพิวเตอร์อยู่ในเครื่องเดียวกันในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป
ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ มีเหตุผลหลายประการ เพราะ
1. ราคาไม่แพง เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า เครื่องพีซี หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีราคาถูกลงมาก เหมาะสำหรับนำไปใช้ในธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่บ้าน หรือพกพาไปไหนมาไหน
2. ใช้งานได้สะดวก เพราะมีโปรแกรมสำเร็จอีกมากมายไวให้เลือกใช้ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น โปรแกรมสำเร็จด้านบัญชี โปรแกรมสำเร็จด้านเวิร์ดโปรเซสซิ่ง โปรแกรมสำเร็จด้านการออกแบบ
3. ได้ข้อสรุปที่ถูกต้องและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ แยกแยะ ปรับปรุง และสรุปผลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสำหรับสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ดังนั้นการได้ข้อสรูปที่ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คนเราทุกคนมีความสามารถอันจำกัด เช่น ความสามารถในการพิมพ์ดีด การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้ได้ผลงานที่รวดเร็ว
5. ลดเนื้อที่วัสดุอุปกรณ์เก็บรักษาข้อมูล มีอุปกรณ์ในการรักษาข้อมูล ไม่ต้องใช้กระดาษ
สรุปบทที่ 2
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์
2. ซอฟแวร์
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์
4. ข้อมูล
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและ สัมผัสได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะงาน คือ
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หน่วยความจำหลัก (Memory Unit)
หน่วยประมลผลกลาง (Central Processing Unit : CPI)
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน หน่วยรับข้อมูลเป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำข้อมูลมาจากภายนอกเข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงจากมนุษย์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ในหน่วยรับข้อมูลนี้ มีหน้าที่แปลงข้อมูลที่ส่งเข้าไปให้อยู่ในรุปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ คอมพิวเตอร์เข้าใจ และนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผล มีทั้งประเภทที่มนุษย์ต้องการทำการป้อนข้อมูลด้วยตนเอง ในลักษณะการพิมพ์การชี้ซึ่งอุปกรณ์ลักษณะนี้ที่รู้จักกันดี คือ แป้นพิมพ์ (Keyboard) และเม้าส์ (Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลในลักษณะของการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบโดย ตรง (Source-data Automation)เพื่อให้การส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยอุปกรณ์จะอ่านข้อมูลจากแหล่งกำเนิดและส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง ผู้ใช้ไม่ต้องเคลื่อนย้ายหรือคัดลอกหรือพิมพ์สิ่งใดลงไปอีกทำให้เกิดความรวด เร็วและถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น เครื่องป้อนข้อมูลประเภทนี้ คือ อุปกรณ์ OCR และสแกนเนอร์ (Scanner)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลางเป็นศูนย์กลางการประมวลผลของทั้งระบบเปรียบเสมือนกอง บัญชาการ หรือ ส่วนของศีรษะของมนุษย์ที่มีผู้บัญชาการ หรือสมองอยู่ภายใน
ภายในหน่วยประมวลผลกลาง จะเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง 2 ส่วนหลัก คือ
1. ส่วนควบคุม (Control Unit)
2. ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล (Arithmetic and Logical Unit or ALU)
ส่วนควบคุม (Control Unit)
ส่วนควบคุมคือ ส่วนที่ทำหน้าที่สร้างและส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ คล้ายการส่งสัญญาณควบคุมจากสมองไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนควบคุมนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล แต่มีหน้าที่ประสานงานให้ส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ สัญญาณควบคุมจำนวนมาก สามารถเดินทางไปยังส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ตัวส่งสัญญาณเรียกว่า บัส (Bus) ซึ่ประกอบด้วย Control Bus, Data Bus และ Address Bus ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุม ส่งสัญญาณข้อมูล และส่งตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล ในส่วนความจำตามลำดับ ดังนั้นบัสจึงเปรียบเทียบเสมือนพาหนะที่ใช้ขนส่งข้อมูลไปสู่ส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบนั่นเอง
ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล (Artimetic and Logic Unit : ALU) ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ ตามลำดับการประมวลผลด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์คือการคำนวณที่ต้องกระทำกับ ข้อมูลประเภทตัวเลข เช่น การบวก ลบ คูณ หาร ฯลฯ ให้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย แต่การประมวลผลด้วยหลักตรรกศาสตร์ คือ การเปรียบเทียบข้อมูลที่กระทำกับข้อมูลตัวอักษร สัญลักษณ์หรือตัวเลข ให้ผลลัพธ์เพียงสองสภาวะ เช่น 0-1, ถูก-ผิด หรือจริง-เท็จ เป็นต้น คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง มักมีส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (ALU) มากกว่าหนึ่งชุด ซึ่งมักพบในเครื่องที่มีกาประมวลผลแบบ Multi-Processing (ประมวลผลงานเดียว โดยอาศัยตัวประมวลผลหลายตัว)
หน่วยความจำหลัก (Main Memory หรือ Primary Storage) หน่วยความจำหลักเป็นส่วนความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้ส่วนประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติกและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำหลักประกอบด้วย
1. หน่วยความจำแบบถาวร (Read Only Memory – ROM)
2. หน่วยความจำชั่วคราว (Random Access Memory – RAM)
หน่วยความจำแบบถาวร คือ หน่วยความจำที่นำข้อมูลออกมาใช้งานเพียงอย่างเดียว โดยได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ล่วงหน้าแล้ว สามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการรักษาข้อมูล แม้เราจะปิดเครื่องหรือไม่มีไฟฟ้าไปหล่อเลี้ยง ข้อมูลที่อยู่ในรอมก็จะยังคงอยู่ไม่สูญหายไปไหน ในปัจจุบัน หน่วยความจำถาวรนี้เปิดโอกาสให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ เช่น การปรับปรุง/แก้ไข ข้อมูลเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ (System Configuration)
หน่วยความจำชั่วคราว คือ หน่วยความจำที่สามารถบันทึกข้อมูล หรืออ่านข้อมูล ณ เวลาใด ๆ ได้ตามต้องการ การจดจำข้อมูลจึงไม่ถาวร ทั้งยังต้องอาศัยสัญญาณไฟฟ้าในการเก็บรักษาและอ่านข้อมูล ฉะนั้น ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะสูญหายไปทันทีที่ปิดเครื่องหรือไฟฟ้าไม่ไปหล่อเลี้ยง แรมเป็นหน่วยความจำที่ใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โดย ตรงเนื่องจากการับข้อมูล การประมวลผลและการแสดงผลข้อมูลต่างต้องอาศัยพื้นที่ในหน่วยความจำทั้งสิ้น แรมเป็นหน่วยความจำที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญขนาด ความจุของแรมเปรียบเสมือนขนาดของโต๊ะทำงาน หากแรมมีความจุมาก ก็เหมือนโต๊ะทำงานที่มีพื้นที่ในการทำงานได้มาก
หน่วยเก็ข้อมูลสำรอง แบ่งออกตามความเหมาะสมในการเข้าไปถึงข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลโดยลำดับเป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงลำดับ การสืบค้นหรือเข้าถึงข้อมูลจึงล่าช้าเพราะต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของการ บันทึก ซึ่งหน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้ได้แก่ เทปแม่เหล็ก (magnetic taps)
2. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรง ไม่ต้องอ่านเรียงลำดับเหมาะกับงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลแบบโต้ตอบ ที่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งได้แก่ จานแม่เหล็ก ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟลอปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม และ ดีวีดี นั่นเอง
เนื่องจากส่วนความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้บันทึกข้อมูลในระบบประมวลผล ไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การบันทึกข้อมูลลงบนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จึงมีความจำเป็นในอันที่จะรักษาข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต และทำให้สามารถนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเคลื่อนย้ายไปสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในระบบเดียวกันได้อีกด้วย
หน่วยแสดงแผล (Output Unit) หน่วยแสดงผลเป็น่วนที่แสดงข้อมูลสู่มนุษย์ เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ เราเรียกเครื่องมือในส่วนนี้ว่า อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)
อุปกรณ์แสดงผลสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ตามลักษณะของข้อมูลที่แสดงออกมาสู่ผู้ใช้ ได้แก่
1. อุปกรณ์แสดงผลที่มนุษย์จับต้องไม่ได้ (Softcopy Output Device) หมายถึงอุปกรณ์แสดงผลที่มนุษย์ไม่สามารถจับต้องข้อมูลที่แสดงนั้นได้ เช่น ข้อมูลตัวอักษรหรือภาพบนจอภาพ หรือ ข้อมูลเสียงจากลำโพง เราเรียกข้อมูลตัวอักษรหรือภาพบนจอภาพ หรือ ข้อมูลเสียงจากลำโพงเราเรียกข้อมูลประเภทนี้ว่า Softcopy
2. อุปกรณ์แสดงผลที่มนุษย์จับต้องได้ (Hardcopy Output Device) หมายถึงอุปกรณ์แสดงข้อมูลที่มนุษย์สามารถจับต้องข้อมูลที่แสดงนั้นได้ เช่น ตัวอักษรหรือภาพบนจอภาพ เป็นต้น เราเรียกข้อมูลประเภทนี้ว่า Hardcopy
ซอฟต์แวร์
การแบ่งประเภทของซอฟท์แวร์
ความหมายของซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำ งานซอฟแวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่าง กัน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ได้
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับ คอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟาต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่ายหากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกชอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟแวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสอักษรออกทางจอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือ ในทำนองกลับกัน คือ นำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการบนในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้นข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น ระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั้งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
ระบบปฏิบัติการ หรือ ที่เรียกย่อว่า โอเอส (Operation System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operation System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้นสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์ เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายวินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกันกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกันและการใช้ งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดว์ส
4) ยูนิกส์ เป็น ระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกส์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลาย เครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์วินโดว์สเอ็นที
ตัวแปลภาษา ในการพัฒนาซอฟว์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อ แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้เหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำ สั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก้
1. ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้างเขียนสั่งงาน คอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2. ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรม
3. ภาษาซี เป็น ภาษที่เหมาะสมที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรม หรือให้คอมพิวเตอรน์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
4. ภาษาโลโก้ เป็นภาษาที่เหมาะสมการเรียนรู้และ เข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโก้ ได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก นอกจากภาษาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากกมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ซอฟต์แวร์สำเร็จ
- ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
ใน บรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่วย เพื่อใช้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟร์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
- ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
- ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
- ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
- ซอฟต์แวร์นำเสนอ
- ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล
ซฮฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์ก หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษร ให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำ อีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ค
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และ เครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตรสามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ที่นิยมใช้ เช่น ไมโครซอฟต์เอกเซล
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บการเรียกค้นมาใช้ งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น ไมโครซอฟต์แอกเซส มายเอสคิวแอล ออราเคิล ฯลฯ
ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องการสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้ว จะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างมาของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ มายแมนเนเจอร์ มาร์โครมีเดียแฟรช
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ ติดต่อสื่อสารกับเครื่องพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ซอฟท์แวร์สื่อสารให้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารที่นิยมมีมากกมายซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรมเพริช เอ็มเอสเอ็น แคมฟร็อก ฯลน
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการ ทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไป จะเป็นซอฟแวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งาน เฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะ เน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคารมีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงจ้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรง กับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
บุคลากร ได้แก่บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. นักเขียนโปรแกรมระบบ
3. นักเขียนโปรแกรม
4. ผู้จัดการฐานข้อมูล
5. ผู้ปฏับัติการ
6. ผู้ใช้
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst) เป็นผู้ที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิม ต้องเป็นผู้มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์และมีประสบการณ์การทำงาน พอสมควร
นักเขียนโปรแกรมระบบ (System Programmer) มีหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมระบบควบคุมเครื่องจะคอยตรวจสอบและแก้ไขเมื่อระบบ คอมพิวเตอร์มีปัญหาต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดี
นักเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นผู้มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามรายละเอียดและข้อกำหนด ที่ System Analyst ได้ออกแบบให้เป็นผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีแต่ไม่จำเป็นต้อง รู้รายละเอียดดเกี่ยวกับฮาร์ดแวรืควรมีตรรกในการเขียนและแก้ไขข้อผิดพลาดของ โปรแกรมที่อาจเกิดขึ้น
ผู้จัดการฐานข้อมูล (Database Administrator or DBA) เป็นผุ้ที่มีหน้าที่ในการบริหารและควบคุมฐานข้อมูลสามารถสร้างและแก้ไขโครง สร้างฐานข้อมูลได้
ผู้ปฏิบัติการ (Operator) เป็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการปิดเปิดเครื่องเมื่อระบบมี ปัญหาจะแจ้งให้ผู้เขียนโปรแกรมระบบทราบนอกจากนี้ยังมีหน้าที่สำรองข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ขึ้นเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูล เช่น เทป เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติการนี้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้สูงนักแต่ต้องกเป็นผู้ที่มีความ รับผิดชอบและใส่ในในการทำงาน
ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ที่ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ระบุความต้องการแก่นักวิเคราะห์ว่าต้องการใช้ระบบงานเป็นอย่างไร ให้คอมพิวเตอร์ช่วยทำอะไรได้บ้าง บรรดานักคอมพิวเตอร์ต้องสนองความต้องการแก่ผู้ใช้นี้
ข้อมูล
องค์ประกอบทางด้านข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลที่จะต้องป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมที่นัก คอมพิวเตอร์ได้เขียนขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการออกมาข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้อง จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องออกมา ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ต้อง ป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา
ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ มี 5 ประเภทคือ
1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)
2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
3. ข้อมูลเสียง (Audio Data)
4. ข้อมูลภาพ (Images Data)
5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
ในการนำข้อมูลไปใช้นั้น เรามีระดับโครงสร้างของข้อมูลดังนี้
1. บิต (Bit) ย่อ มาจาก Binary Digit เป็นข้อมูลที่มีขนาดเล็กสุดในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือเลข 1 เท่านั้น มักใช้เป้นหน่วยวัดความสามารถของไมโครโพรเซสเซอร์ในการประมวลผลข้อมูล เช่น 16 บิต หรือ 32 บิต เป็นต้น ซึ่ง 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ 1 ไขต์จะใช้แทนตัวอักขระหรือตัวเลข ตัวอย่างเช่น ไบต์ 01000001 คือ อักขระ A เลข 0 หรือ 1 ในไบต์ก็คือ 1 บิต ซึ่งแสดงถึงสถานะ 1 ใน 2 สถานะคือ 0= ปิด และ 1=เปิด การรวมตัวเลข 0 และ 1 ในลักษณะต่าง ๆ ให้เป็นชุด 8 ตัว จะแทนข้อมูลทั้งหมดในคอมพิวเตอร์
2. ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือสัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0,1,…..9,A,B….Z และเครื่องหมายต่าง ๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือตัวอักขระ 1 ตัวเป็นต้น
3. ฟิลด์ (Field) ได้แก่ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัวชื่อพนักงาน เป็นต้น
4. เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ขึ้นไป ที่มีความสัมพัน์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่ประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
5. ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลาย ๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูล ของประวัติพนักงาน แต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนังงานของบริษัท เป็นต้น
6. ฐานข้อมูล (Database) คือการเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลาย ๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่นไฟล์ข้อมูลของแผนกต่าง ๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัทเป็นต้น
สรุปองค์ประกอบด้านข้อมูล มี 5 ประเภทดังนี้
1. ข้อมูลตัวเลข
2. ข้อมูลตัวอักษร
3. ข้อมูลเสียง
4. ข้อมูลภาพ
5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว
สรุปโครงสร้างด้านข้อมูลมี 6 ประเภท คือ
1. บิต
2. ไบต์
3. ฟิลด์
4. เรคคอร์ด
5. ไฟล์
6. ฐานข้อมูล
สรุปบทที่ 3
ซอฟต์แวร์ และ ภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยโปรแกรมจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานด้วยตนเองตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบ คุม (Control Unit)
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. โปรแกรมระบบ (System Program หรือ System Software)
2. โปรแกรมประยุกต์ (Application Program หรือ Application Software)
1. โปรแกรมระบบ คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดระบบการเก็บข้อมูล การรับส่งข้อมูลเก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำ โดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องจำให้โปรแกรมระบบมาพร้อมกับเครื่องส่วนสำคัญที่เป็น แกนหลักของโปรแกรมระบบ คือ ระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System)
ระบบปฏิบัติการ คือ กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างเครื่องและ ผู้ใชเครื่อง โดยจะเอื้ออำนวยการใช้โปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (resource) ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ (Input/Output Device) และ ให้ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการจะเป็นแบบง่าย ๆ และทำหน้าที่ควบคุมและให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่อง
2. จัดสรรทรัพยากรซึ่งใช่ร่วมกัน (Shared Resource) หน้าที่นี้จะเห็นได้ชัดในเครื่องเมนเฟรม (Mainframe) ซึ่งจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ เป็นต้น มีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกัน ในลักษณะของระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming) ดังนั้นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ จึงต้องครอบคลุมถึงการจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้ โดยคำนึงถึงความยุติธรรมต่อผู้ใช้แต่ละคน และประสิทธิผลของเครื่องเป็นหลักสำคัญ
ระบบปฏิบัติการ (OS)
ระบบปฏิบัติการมีหลายชนิดที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซีพี/เอ็ม (CP/M) ดอส (DOS) รวมทั้ง MS-DOS และ PC-DOS วินโดวส์(Windows) โอเอส/ทู(OS/2) ยูนิกซ์(Unix) ซิสเต็ม 8 (System ของแมคอินทอซ
ดอส (DOS)
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบงานเดี่ยว (Single - tasking) เมื่อ
บริษัท IBM ได้เข้ามาสู่ตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ โดยสร้างเครื่อง IBM PC ขึ้นมา บริษัท IBM ได้ว่าจ้าง บริษืไมโครงซอฟต์ให้พัฒนาระบบปฏิบัติการ (OS) ขึ้นซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า ดอส ที่จริงแล้วดอสมีสองรุ่นใหญ่ ๆ คือ PC-DOS ใช้กับเครื่อง IBM PC และในขณะเดียวกัน บริษัทไมโครซอฟต์ก็พัฒนา MS-DOS ขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คอมพแพคทิเบิล (Compatible) กับเครื่อง IBM ทุกเครื่องซึ่งทั้ง PC-DOS และ MS-DOS มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ ดอสได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายรุ่น (Version) แต่ละรุ่นก็ได้เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของ เครื่อPC
วินโดวส์ (Windows)
ประมาณต้นปี ค.ศ.1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตวินโดวส์ 3.0 ซึ่งนำมาใช้ในการติดต่อแบบกราฟิก (Graphical Interface) ด้วยไอคอน (Icon) และใช้เม้าส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key board) นอกจากนี้วินโดวส์ 3.0 ขึ้นไปยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่ง โปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า มัลติทาสกิ้ง (Multitasking) โดยระบบวินโดวส์จะสามารถทำให้โปรแกรมถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำได้พร้อมกัน แล้วจะสามารถแบ่งจอภาพออกเป็นหน้าต่างเล็ก ๆ แต่ละหน้าต่างก็จะแสดงการทำงานของแต่ละโปรแกรมซึ่งแตกต่างกัน และยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถคัดลอกข้อความหรือภาพระหว่างโปรแกรมได้
ต่อมาในปี ค.ศ.1995 บริษัทไมโครซอฟต์ ได้ผลิตวินโดวส์ 95 (Windows) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิท ลักษณะเด่นของวินโดวส์ 95 คือความสามารถในด้านระบบเครือข่าย สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายขนาดใหญ่ได้ สามารถใช้แอปพลิเคชันที่วันบนวินโดว์ 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รับนบวินโดวส์ 95 มีความสามารถ แฟกซ์ E-mail ได้อีกด้วย หลังจากนั้นบริษัท ไมโครซอฟต์ก็ได้ผลิตวินโดวส์ 97 และวินโดวส์ 98 ออกมาใช้
โอเอส/ทู (OS/2 : Operating System 2)
เมื่อบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 เข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อให้บริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ที่มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบการฟิกและสามารถทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง ได้ แต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย
ยูนิกซ์ (Unix)
เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่และค่อนข้างสลับซับซ้อน มีขีดความสามารถสูงกว่าอย่างอื่นสามารถใช้งานในลักษณะมัลติทาสกิ้ง คือสามารถใช้งานได้หลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multiuser) คือ มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน โดยปกติยูนิกซ์เป็นระบบที่พัฒนาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ และ เวิร์กสเตชั่น (Workstation) ปัจจุบันยูนิกซ์ได้พัฒนาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับ 386 Dx ขึ้นไป มีการติดตั้งหน่วยความจำหลักไม่ต่ำกว่า 8 เมกะไบท์ มีฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 100 เมกะไบท์ถึงแม้วินโดวส์และโอเอส/ทู จะมีความสามารถในการทำมัลติทาสกิ้ง เข่นเดียวกับยูนิกซ์ แต่จะไม่มีคุณสมบัติในด้านมัลติยูสเซอร์ เช่น ยูนิกซ์ ซึ่งคุณสมบัติระบบปฏิบัติการยูนิกซ์แบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) และมัลติยูสเซอร์นี้ ทำให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการยูนิกซ์สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี ยูสเซอร์ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัวไปพร้อม ๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ยังสามารถรัน (Run) ได้บนแพลตฟอร์มหลาย ๆ ระดับ ทั้งบนเครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์และเครื่องไมโครงคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลตฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บนดอส หรือวินโดวส์มาใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้
ซิสเต็ม 8 (System
ซิสเต็ม 8 เป็นระบบปฏิบัติการของแมคอินทอธ (Macintosh) มีความสามารถในการทำมัลติทางกิ้งและสามารถใช้งานต่าง ๆ กัน เช่น ทำการพิมพ์ในขณะที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ก็ได เหมาะกับงานได้ด้านเดสทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)ซึ่งหมายถึงการออกแบบและพิมพ์เอกสารหรือหนังสือโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เปรียบเหมือนโรงพิมพ์ตั้งโต๊ะ
2. โปรแกรมประยุกต์ คือโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โปรแกรมประยุกต์ มี 2 อย่าง คือ
2.1 โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่บริษัทซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้กับงานนั้น ๆ ได้เลย โดยผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเองเป็นการประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จรูปแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
ก. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Software)
ข. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดพิมพ์รายงาน (Word Processing Software)
ค. โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการคำนวณ (Calculation Software)
ง. โปรแกรมสำเร็จรูปกับงานธุรกิจ (Business Software)
ก. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS : Data Base Management System) คือโปรแกรมที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยทำหน้าที่สร้าง ฐายข้อมูล และเป็นตัวคอยดูแลจัดการเรียกใช้และแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น หน้าที่สำคัญของระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คือเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลโดยผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเกี่ยวกับ โครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บจริง ตัวอย่าง โปรแกรม เช่น dBASE III PLUS, Foxbase, FoxPro, ORACLE, INFORMIXเป็นต้น
ข. โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดพิมพ์รายงาน
เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทนี้จะอำนวยความสะดวก ในเรื่องการจัดพิมพ์ได้ดีมาก สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วแล้วแต่คุณสมบัติของแต่ละโปรแกรมในการจัดพิมพ์ งาน เช่น การจัดพิมพ์ข้อความ การจัดหน้า การจัดคำ จัดจำนวนบรรทัดต่อหน้าย่อหน้าต่าง ๆ การเลือกรูปแบบตัวอักษร เช่น Word Star, Word erfect, Cu Writer, เวิร์ดราชวิถี, Microsoft Word, Page Maker เป็นต้น
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)
ภาษาคอมพิวเตอร์ คือภาษที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยถูกนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง (Program) ให้เครื่องทำงานตามคำสั่งของภาษานั้น ในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีมากมายหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์และวิธีการเขียนโปรแกรมแต่ต่างกัน ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language)
1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
เป็นภาษาที่ใช้ในยุคแรก ๆ จะมีความยุ่งยากในการเขียนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
เป็นภาษาหรือคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องโดยตรงลักษณะสำคัญ
ของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยรหัสของเลขฐานสองซึ่งเทียบได้กับลักษณะของสัญญาณ ทางไฟฟ้าเข้ากับหลักการทำงานของเครื่องซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่ จะทำงานตามคำสั่งได้ทันทีภาษาเครื่องจะมีกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์ค่อนข้างจำกัด โปรแกรมมีลักษณะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน รหัสโครงสร้างของแต่ละคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
ก. รหัสบอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่บอกคำสั่งให้เครื่องทำการประมวลผล เช่นให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ
ข. รหัสบอกตำแหน่งข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกว่าข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลนั้นเก็บอยู่ในตำแหน่ง (Address) ใดของหน่วยความจำ
ลักษณะของโปรแกรมจะประกอบด้วยกลุ่มของรหัสคำสั่ง ซึ่งประกอบด้วยเลข
ฐานสองเรียงต่อกัน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบถึงเทคนิคการใช้รหัสคำสั่งและจะต้องจำตำแหน่ง ของคำสั่งของข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ เพราะเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละบริษัทจะใช้ภาษาเครื่องของตนเอง และผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องจึงมีผู้เขียนอยู่ในวงจำกัด เพราะต้องมีความรู้ทางด้านเครื่องและรหัสของเครื่องด้วยจึงจะเขียนโปรแกรม ได้ ภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ก็จะต้อง เขียนโปรแกรมใหม่
ข้อดี ของภาษาเครื่อง
1. เมื่อคำสั่งเข้าสู่เครื่องจะสามารถทำงานได้ทันที
2. สามารถสร้างคำสั่งใหม่ ๆ ได้ โดยที่ภาษาอื่นทำไม่ได้
3. ต้องการหน่วยความจำเพียงเล็กน้อย
ข้อเสีย ของภาษาเครื่อง
1. ต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งยาวทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
2. ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดีจึงสามารถเขียน โปรแกรมได้ และถ้าเครื่องที่มีฮาร์ดแวร์ต่างกัน จะใช้โปรแกรมร่วมกันได้
1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)
จัดเป็นภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) เป็นภาษาที่พัฒนามาจาก
ภาษาเครื่องโดยใช้สัญลักษณ์ข้อความแทนกลุ่มของเลขฐานสอง ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกขึ้นแต่ผู้เขียนโปรแกรมยังคงต้องจำความหมาย สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ การเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี มีลักษณะที่ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องเราไม่สามารถนำโปรแกรมภาษาแอสแซมบลีไปใช้ กับเครื่องต่างชนิดกันได้ ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี การเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้ วิธีการก็คล้ายกับการเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องแต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์จะ รู้จักแต่เฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการแปลภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน เครื่องจึงจะสามารถทำงานตามโปรแกรมคำสั่งได้โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษานี้ เรียกว่าแอสแซมเบลอร์ (Assembler)
ข้อดี ของภาษาแอสแซมบลี
- การเขียนโปรแกรมเขียนง่ายกว่าภาษาเครื่อง
ข้อเสีย ของภาษาแอสแซมบลี
- ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมมีลักษณะคล้ายภาษาเครื่องทำให้โปรแกรมคำสั่งต้องเขียนยาวเช่นเดิม
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนา ให้สามารถใช้ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น การเขียน
ภาษาไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือลักษณะการทำงานภายในของเครื่อง ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเข้าใจระบบการทำงานภายในเครื่องมากนัก เพียงแต่เข้าใจกฎเกณฑ์ในกาเขียนแต่ละภาษาให้ดี ซึ่งลักษณะคำสั่งจะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาระดับสูงจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตามภาษาระดับสูงเครื่องจะยังไม่เข้าใจ จึงต้องมีการแปลให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter) และคอมไพเลอร์ (Compiler)
2.1 อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลจะแปลที
และคำสั่งและทำงานตามคำสั่งทันที แล้วจึงไปอ่านคำสั่งต่อไป ในกรณีที่โปรแกรมมีลักษณะการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) อินเทอพรีทเตอร์จะต้องแปลคำสั่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงทำให้การแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ทำงานซ้ำ อินเทคพรีทเตอร์จะไม่สร้างออฟเจ๊ทโปรแกรม (Object Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่องเก็บไว้ ฉะนั้นทุกครั้งที่สั่งให้โปรแกรมทำงานอินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลใหม่ทุก ครั้ง เครื่องจะเริ่มทำงานทันทีเมื่ออินเทอพรีทเตอร์แปลคำสั่งเสร็จและจะหยุดทำงาน เมื่อดินเทอพรีทเตอร์พบข้อผิดพลาดในคำสั่งที่แปล และจะรายงานความผิดพลาดทันที ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขโปรแกรมคำสั่งให้ถูกแล้วสั่งให้โปรแกรมเริ่มทำ งานใหม่ อินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลคำสั่งนั้นใหม่ภาษาที่ใช้อินเทคพรีทเตอร์แปล เช่น ภาษาBASICA และGWBASIC เป็นต้น
2.2 คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง คอมไฟเลอร์จะทำการ
แปลทั้งโปรแกรม แล้วเก็บโปรแกรมที่แปลได้ในรูปของภาษาเครื่องเก็บไว้ในลักษณะของออฟเจ็ท โปรแกรม (Object Program) ถ้าโปรแกรมที่แปลไม่มีข้อผิดพลาดก็จะปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ ทันทีแต่ถ้าโปรแกรมมีข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์ก็จะบอกข้อผิดพลาดทั้งหมดที่มีในโปรแกรมออกมาให้ทราบ และจะยอมให้ออฟเจ็ทโปรแกรมทำงานต่อเมื่อโปรแกรมได้รับการแก้ไขจนไม่มีข้อผิด พลาดแล้ว โปรแกรมที่ถูกแปลจะเก็บไว้เป็นออฟเจ็ทโปรแกรมในหน่วยความจำ จึงทำให้ต้องใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมากกว่าอินเทอพรีทเตอร์ เพราะต้องเก็บตัวโปรแกรมภาษา (Source Program) ออฟเจ็ท โปรแกรม (Object Program) และคอมไฟเลอร์ (Program)
เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว คอมไพเลอร์จะทำการแปลทั้งโปรแกรมใหม่เพื่อเก็บเป็นออฟเจ็ทโปรแกรมอีกครั้ง หนึ่งในกรณีที่มีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เครื่องจะนำเอาออฟเจ็ทโปรแกรมที่แปลเก็บไว้ไปใช้ทำงาน โดยไม่ต้องมีการแปลซ้ำอีก ทำให้การทำงานเร็วกว่าการแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ ภาษาที่ใช้คอมไพเลอร์แปล ได้แก่ ภาษา C, COBOL, FORTRAN,PL/1, TURBO BASIC,PASCAL เป็นต้น
ตารางที่ 1 แสดงข้อแตกต่างระหว่างอินเทอพรีทเตอร์กับคอมไพเลอร์
อินเทอพรีทเตอร์
(Interpreter) คอมไพเลอรื
(Compiler)
1. แปลโปรแกรมทีละคำสั่งและทำงานตามคำสั่งนั้นทันที
2. ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำน้อย
3. ไม่มีการสร้างออฟเจ็ทโปรแกรม (Objext Program)
4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) จะต้องแปลคำสั่งซ้ำแล้วซ้ำอีกทำให้การทำงานช้า 1. แปลทั้งโปรแกรมแล้วจึงทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมนั้น
2. ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมา
3. มีการสร้างออฟเจ็ทโปรแกรม (Objext Program)
4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เครื่องจะนำออฟเจ็ทโปรแกรมไปใช้งานเลยโดยไม่ต้องแปลซ้ำ ทำให้ทำงานได้เร็วกว่า
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูงมาใช้มากมาย ภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์ในการใช้ต่าง ๆ กัน แต่ทุกภาษาจะมีโครงสร้างที่เหมือนกัน คือประกอบด้วยประโยคต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ประโยคที่ใช้ในการระบุตัวแปร ใช้ในการระบุชื่อ และชนิดของตัวแปร (Variable) ซึ่งตัวแปรจะใช้เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในหน่วยความจำ
2. ประโยคที่ใช้ในการอ่านหรือแสดงผลลัพธ์ ใช้ในการอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บในตัวแปรที่ระบุและใช้แสดงผลลัพธ์
3. ประโยคควบคุม ใช้ในการควบคุมการทำงานว่าจะให้ทำงานในส่วนใดของโปรแกรมซึ่งถ้าไม่มีประโยค ควบคุม การทำงานจะทำเรียงตามลำดับคำสั่ง จากประโยคแรกไปยังประโยคสุดท้าย
4. ประโยคที่ใช้ในการคำนวร ใช้ในการคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์
5. ประโยคที่ใช้บอกจบการทำงาน ใช้ระบุจุดจบของการทำงาน
ภาษาระดับสูงมีอยู่หลายภาษา สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น
1. ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN : FORmular TRANslation) ภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษา
ที่เหมาะในงานด้ายวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ซึ่งเป็นงานที่มักใช้การประมวลผลที่ซับซ้อน ลักษณะของภาษาอยู่ในลักษณะที่คล้ายกับสูตรหรือสมการทางคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์แทรนไม่เหมาะกับงานพิมพ์หรือ งานที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์เพราะคำสั่งด้านนี้มีน้อย
2. ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business Oriented Language) เป็นภาษาที่มี
คำสั่งคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานทางธุรกิจและเป็นภาษาที่ประสบความสำเร็จในการใช้ งานธุรกิจ เช่น งานทางด้านบัญชี งานเก็บประวัติข้อมูล งานธุรกิจทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษาโคบอลยังเหมาะกับงานทางด้านการสร้างไฟล์ของข้อมูล งานใหญ่ ๆ ที่มีข้อมูลมาเพราะมีคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้กับไฟล์มากและยังสามารถใช้กับงานที่ต้องการออกรายงาน (Report) แต่มีข้อเสียคือ การทำงานค่อนข้างช้า และไม่เหมาะกับงานคำนวณที่สลัยซับซ้อน
3. ภาษาปาสคาล (PASCAL) มาจากชื่อนักคณิตศาสตร์ขาวฝรั่งเศสชื่อ Blaise Pascal
ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ดีเยี่ยม ทำให้การทำงานของโปรแกรมมีประสิทธิภาพดีมากเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) เป็นรุ่นที่นิยม เพราะเทอร์โบปาสคาลเป็นภาษาค่อนข้างจุกจิก มีข้อยกเว้นและมีเครื่องหมายมาก ทำให้ลดความคล่องตัวในการใช้งานลงไป
4. ภาษาซี (C) เป็นภาษาที่เขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง มีรูปแบบคำสั่งค่อนข้างอิสระมี
คำสั่งและฟังก์ชั่นมาก สามารถใช้กับงานได้หลายประเภท สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ได้ ภาษาซีถูกนำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมหลายอย่าง เช่น UNIX, cu Writer เป็นต้น
5. ภาษาเบสิก (BASIC : Beginner’s All-purpose Symbolic Instruction Code) จุด
เด่นของภาษาเบสิก คือ Operating System ของภาษานี้ใช้เนื้อที่น้อยคำสั่งต่าง ๆ มีน้อย แต่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และถูกออกแบบเพื่อใช้งานในลักษณะโต้ตอบ เพราะภาษเบสิกส่วนใหญ่ ถูกพัฒนาโดยใช้อินเทอพรีทเตอร์ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิใพ์โปรแกรมเข้าเครื่องและแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ทันที เหมาะกับผู้ที่เริ่มหัดเขียนโปรแกรม ภาษาเบสิกทำได้ทั้งานคำนวณ งานธุรกิจ หรืองานออกรายงาน (Report)
6. ภาษาอัลโกล (ALGOL : ALGOrithmic Language) เป็นภาษาโครงสร้างใช้กับงาน
ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ลักษณะภาษาคล้ายกับภาษา FORTRANลักษณะโปรแกรมจะแยกออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่าโปรแกรมย่อย (Subroutine หรือProcedure)
7. ภาษาพีแอลวัน (PL/I : Programming Language I ) เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ
ใช้กับงานธุรกิจและวิทยาศาสตร์ โดยรวมเอาข้อดีของภาษาฟอร์แทรนและโคบอลเข้าด้วยกันคือสามารถทำการคำนวณได้ดี เหมือนกับภาษาฟอร์แทรนและสามารถจัดไฟล์และทำรูปแบบรายงานได้เหมือนกับภาษาโค บอล ภาษาพีแอลวัน ต้องการเนื้อนที่ในหน่วยความจำมากจึงต้องใช้กับเครื่องขนาดใหญ่เหมาะที่จะ ใช้กับงานใหญ่ ๆ ที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล
โอโอพี (OOP : Object Oriented Programming)
โอโอพี (OOP) เป็นกลวิธีการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ที่แตกต่างจากการเขียนโปรแกรมแบบเดิม ซึ่งการเขียนโปรแกรมแบบเดิมจะเป็นแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยการเขียนโปรแกรมแบบจากบนลงล่าง ทำให้การนำโปรแกรมมาประกอบกันทำได้ยาก ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบจากบนลงล่าง ทำให้การนำโปรแกรมมาประกอบกันทำได้ยาก ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบออฟเจท (Object) เป็นการมองการเขียนโปรแกรมให้เป็นก้อนออฟเจ็ทและสามารถนำมาต่อ ๆ กันได้ เวลาจะเขียนโปรแกรมใหม่ก็ทำได้ง่าย โดยการนำเอาออฟเจ็ทที่เขียนไว้แล้วมาต่อ ๆ กันเป็นโปรแกรม โดยไม่ต้องเขียนใหม่ทั้งหมด ทำให้เขียนโปรแกรมได้เร็วขึ้น การเขียนโปรแกรมแบบ โอโอพีจะใช้ภาษาอะไรก็ได้ เช่น Visual Basic, Visual C++, Delphi เป็นต้น
นอกจากภาษาระดับสูงที่กล่าวมาแล้ว ยังมีภาษาอีกประเภทหนึ่งที่จัดเป็น ภาษารุ่นที่ 4 (4 GL : Fourth Generation Language) เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ เรียกว่าภาษาธรรมชาติ (Natural Language) หรือ ภาษามนุษย์นั่นเองโดยที่ได้มีความพยายามที่ใช้คอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารกับมนุษย์ในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นภาษาแบบ Nonprocedural ซึ่งตรงข้ามกับภาษารุ่นก่อน ๆ ที่เป็นแบบ Procedural คือ ในการเขียนโปรแกรมจะต้องระบุขั้นตอนในการทำงานลงในโปรแกรม แต่การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแบบ Nonprocedural นั้นไม่จำเป็นต้องระบุวิธีการลงในโปรแกรมเพียงแต่บอกว่าต้องการอะไรเท่านั้น ส่วนใหญ่มักใช้ภาษารุ่นที่ 4 นี้ในการดูแลจัดการข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและในการสร้างรายงายสรุปบทที่ 4ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า อุปกรณ์ประมวลผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์
อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าสามารถแบ่งแยกได้หลายประเภท เช่น กด ชี้ตำแหน่ง ปากกา มัลติมิเดีย หรือใช้การสแกน ส่วนอุปกรณ์ประมวลผลที่เปรียบเสมือนหัวใจของพีซีทั่วไปคือ เมนบอร์ด และซีพียู ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับสมอง ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันดีมีหลายปรระเภท เช่น จานแม่เหล็ก สื่อเก็บแบบแสง เทป หรือหน่วยความจำแบบแฟลช สำหรับอุปกรณ์แสดงผลลับนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ แสดงผลลัพธ์หน้าจอ พิมพ์งานและขับเสียง
 โครงสร้างโดยทั่วไปของการจัดเก็บข้อมูลด้วยสื่อเก็บแบบจานแม่เหล็กที่ควรรู้จักคือ แทรก ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่แบ่งออกเป็นส่วนตามแนวเส้นรอบวงกลม และเซกเตอร์ ซึ่งเป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ
สรุปบทที่ 4
ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า อุปกรณ์ประมวลผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์
            อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าสามารถแบ่งแยกได้หลายประเภท เช่น กด ชี้ตำแหน่ง ปากกา มัลติมิเดีย หรือใช้การสแกน ส่วนอุปกรณ์ประมวลผลที่เปรียบเสมือนหัวใจของพีซีทั่วไปคือ เมนบอร์ด และซีพียู ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับสมอง ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันดีมีหลายปรระเภท เช่น จานแม่เหล็ก สื่อเก็บแบบแสง เทป หรือหน่วยความจำแบบแฟลช สำหรับอุปกรณ์แสดงผลลับนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ แสดงผลลัพธ์หน้าจอ พิมพ์งานและขับเสียง
           โครงสร้างโดยทั่วไปของการจัดเก็บข้อมูลด้วยสื่อเก็บแบบจานแม่เหล็กที่ควรรู้จักคือ แทรก ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่แบ่งออกเป็นส่วนตามแนวเส้นรอบวงกลม และเซกเตอร์ ซึ่งเป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ
สรุทบทที่ 5
ระบบปฎิบัติการและหลักการทำงาน
1.  ระบบปฎิบัติการ คืออะไร... คือ ซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมโปรแกรมประยุกต์ และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตออกมาหลายรุ่นหลายแบบบางครั้งเราจึงนิยมเรียกระบบปฏิบัติการ ที่ออกมาแต่ละตัวนั้นว่าเป็นแพลตฟอร์ม<platform>จะเน้นที่ระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำงานบนพีซีเป็นหลัก
2.  ไบออส <BIOS: Basic Input Output System>รากฐานรองรับระบบปฏิบัติการ
ที่มาของข้อมูล
ไบออส (Basic Input Output System: BIOS) รากฐานรองรับระบบปฏิบัติการ
ไบออส (Basic Input/Output System: BIOSคือโปรแกรมที่ปกติจะเก็บเอาไว้ในรอมที่เป็นความจำถาวร หรือกึ่งถาวร (EPROM Erasable Programmable Read Only Memory) และเป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเรียกใช้เป็นโปรแกรมแรกตั้งแต่เปิดเครื่อง โดยไบออสจะทำหน้าที่ในการตรวจอุปกรณ์ที่ต่อไว้ตามตำแหน่งที่ระบุ และทำการโหลดระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์หรือดิสก์เก็ต ไปที่แรมซึ่งเป็นหน่วยความจำชั่วคราว หลังจากนั้นจะทำหน้าที่บริหารการไหลของข้อมูล ระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ จอยสติกเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. การเริ่มต้นทำงานของคอมพิวเตอร์ <Boot up>
เริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot up)
    เมื่อทำการกดสวิทช์ Power On เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านสิ่งที่ต้องทำมาจาก BIOS (Basic Input Output System) โดย BIOS จะสั่งให้ทำกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า POST(Power On Self Test) กระบวนการนี้ถูกบรรจุในหน่วยความจำ (MEMORY) ของคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันมักจะเก็บใน EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) มากกว่า คือเป็นหน่วยความจำที่อ่านอย่างเดียว และไม่ต้องใช้กระแสไฟเลี้ยง แต่สามารถใช้กระแสไฟฟ้าเข้าไปลบ หรือแก้ไขโปรแกรมใน EPROM ได้ เรียกว่าการแฟลช (flash) ROM
NOTE: การเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (BOOT UP) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    Cold Boot ซึ่งเป็นการบูทที่เริ่มต้นจากการกดสวิทช์ Power On ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์เริ่มการทำงาน POST และบูทตามลำดับ
    Warm Boot เป็นการสั่งบูทระบบใหม่ ด้วยการกดปุ่ม Reset หรือการกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del หรือการสั่ง Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าเป็นการสั่งบูทด้วยซอฟต์แวร์
4. ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ <User Interface>
ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface, GUI อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้) เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัวอักษร จียูไอมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์ หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน
จียูไอพัฒนาพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดนำโดย ดัก เอนเกลบาร์ต (Doug Engelbart) โดยการใช้งานร่วมกับไฮเปอร์ลิงก์และเมาส์ ซึ่งภายหลังได้นำมาวิจัยต่อที่ศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค (Xerox PARC) โดยใช้งานระบบกราฟิกแทนที่ระบบตัวอักษร โดยบางคนจะเรียกระบบนี้ว่า PARC User Interface หรือ PUI ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นำมาใช้ครั้งกับเครื่องแมคอินทอช ซึ่งภายหลังทางไมโครซอฟท์ได้เลียนแบบความคิดมาใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ในปัจจุบันจียูไอเป็นที่นิยมโดยสามารถเห็นได้จากระบบปฏิบัติการแมคอินทอช และ วินโดวส์ และล่าสุดในลินุกซ์
5. การจัดการกับไฟล์ <File Management>
ชนิดของไฟล์
 ไฟล์ (files)หรือแฟ้ม ที่จะศึกษากันนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
 1. แฟ้มข้อความ หรือ text files  ไฟล์ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลเป็นข้อความในรูปของรหัสแอสกี (ASCII) ไฟล์ประเภทนี้ ส่วนมามีส่วนขยาย เป็น txt , bat  c ini nfg log bak  หรืออื่น ๆ ไฟล์เหล่านี้สามารถเปิดได้โดยใช้ text editor  เช่น  notepad โดยจะปรากฏเป็นข้อความ ไฟล์เหล่านนี้เมื่อใช้รหัสบางอย่าง เช่น \n เวลาบันทึกไฟล์ จะถูกเปลี่ยนเป็น  รหัส carriage return หรือ line feed และเมื่ออ่านไฟล์เหล่านี้รหัสนี้จะถูกเปลี่ยนเป็น \n  
 2. แฟ้มในระบบเลขฐานสอง หรือ binary files ไฟล์เหล่านี้จัดเก็บข้อมูลไว้ในรูปเลขฐานสอง เมื่อบันทึกไฟล์ประเภทนี้ จะไม่เปลี่ยนรหัสคำสั่ง เช่น \n เป็น carriage return หรือ line feed ไฟล์ประเภทนี้ไม่สามารถเปิดด้วย notepad เปิดขึ้นมาจะได้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งดูไม่รู้เรื่อง ต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะที่จัดการกับแฟ้มเหล่านั้น เช่น ไฟล์ที่มีส่วนขยาย xls doc exe com bmp gif  dat  jpg เป็นต้น
ขั้นตอนการจัดการกับไฟล์ หรือขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมกับไฟล์
อาจพิจารณาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การเปิดไฟล์
2. การประมวลผลข้อมูลในไฟล์ เช่น การอ่าน การจัดเก็บ การแก้ไข การเพิ่ม และ การลบข้อมูล
3. การปิดไฟล์
ในการจัดกระทำกับไฟล์ เช่น การแก้ไข การเพิ่ม ฯลฯ ไม่ได้กระทำกับไฟล์ที่เก็บอยู่ในดิสก์ หรือ ฮาร์ดดิสก์ โดยตรง แต่กระทำกับพื้นที่ในหน่วยความจำ(memory) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์จัดเตรียมไว้เพื่อประมวลผลเกี่ยวกับไฟล์ หน่วยความจำที่จัดเตรียมไว้เพื่อเป็นตัวกลางในการประมวลผลกับไฟล์นี้เรียกว่า บัฟเฟอร์ เข่น ถ้าจะกระทำการกับไฟล์ 3 ไฟล์ คือ ไฟล์ x ,y ,z  คอมพิวเตอร์จะเตรียมบัฟเฟอร์ไว้ 3 ส่วนสำหรับแต่ละไฟล์
  ไฟล์ในภาษาซีมีการจัดเก็บในลักษณะเรียงต่อกันไปตั้งแต่ต้นจนจบไม่มีการแบ่งเป็นช่วง ดังนั้นการจะกระทำกับข้อมูลในไฟล์จะต้องระบุตำแหน่ง สิ่งที่ใช้ในการหาตำแหน่งของข้อมูลในไฟล์  โดยใช้ตัวชี้ตำแหน่งไฟล์ เรียกว่า ไฟล์พอยน์เตอร์ (file pointer) โดยเมื่อเปิดไฟล์จะต้องมีการสร้างตัวชี้ไฟล์หรือไฟล์พอยน์เตอร์ ซึ่งจะชี้ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของไฟล์ และเปลี่ยนตำแหน่งไปยังตำแหน่งที่ถูกระบุ ในการประมวลผลหลายไฟล์ แต่ละไฟล์จะมีตัวชี้ตำแหน่งเป็นของมันเองไม่ได้ใช้ร่วมกับไฟล์อื่นฃ
6. การจัดการหน่วยความจำ<Memory Management>
ระบบคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้สามารถรันโปรแกรมได้หลาย ๆ โปรแกรมโดยแต่ละโปรแกรมจะแย่งกันใช้หน่วยความจำ ปัญหาที่ตามมาก็คือ ไม่มีหน่วยความจำมากเพียงพอสำหรับโปรแกรม วิธีแก้ปัญหาก็คือเพิ่มหน่วยความจำเข้าไปในระบบ แต่จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากการแก้ปัญหาวิธีนี้ก็คงยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน นักคอมพิวเตอร์จึงหาวิธีอื่นที่จะแก้ปัญญาหน่วยความจำไม่เพียงพอ วิธีที่นิยมใช้ก็คือ การทำหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
5.1 กระบวนการจัดการหน่วยความจำ
5.1.1 การย้ายตำแหน่ง (Relocation)
ระบบปฏิบัติการในปัจจุบัน ยอมให้โปรแกรมทำงานพร้อมกันได้หลายงานแบบmultiprogramming ซึ่งโปรเซสต่าง ๆ เข้าใช้งานหน่วยความจำร่วมกัน จึงต้องมีการสลับโปรแกรมให้เข้าออกหน่วยความจำได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงค่าตำแหน่งในหน่วยความจำที่อ้างถึงในโปรแกรม ให้ถูกต้องตามตำแหน่งจริงในหน่วยความจำ เช่นโปรแกรม a อ้างถึงตำแหน่งที่ 1000 และโปรแกรม b ก็อ้างถึงตำแหน่งที่ 1000 เช่นกัน
ค่า address แบ่งได้ 2 ค่า
1. Absolute address หมายถึง ตำแหน่งจริงของโปรเซสที่อยู่ในหน่วยความจำ
2. Relative address หมายถึง ตำแหน่งของคำสั่ง หรือโปรแกรมของโปรเซสหลังจากการcompile
5.1.2 การป้องกันพื้นที่ (Protection)
ระบบปฏิบัติการควรสามารถป้องกันโปรเซส จากการถูกรบกวน ทั้งทางตรง และทางอ้อม ดังนั้นก่อนให้โปรเซสใดเข้าครอบครองหน่วยความจำ จะต้องมีการตรวจสอบก่อน และใช้เวลาค้นหาเพื่อตรวจสอบตลอดเวลา
5.1.3 การใช้พื้นที่ร่วมกัน (Sharing)
การป้องกันเพียงอย่างเดียว อาจทำให้การใช้ทรัพยากรไม่คุ้ม จึงต้องมีการจัดสรรให้ใช้พื้นที่ของหน่วยความจำร่วมกันอย่างยืดหยุ่น5.1.4 การจัดการแบ่งโปรแกรมย่อย (Logical organization)
ระบบปฏิบัติการจะแบ่งโปรแกรมเป็นโปรแกรมหลัก และโปรแกรมย่อย โดยนำเฉพาะโปรแกรมหลักลงในหน่วยความจำ แต่นำโปรแกรมย่อยลงหน่วยความจำเฉพาะเมื่อมีการเรียกใช้เท่านั้น
ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการแบ่งโปรแกรมออกเป็นโปรแกรมย่อย มีดังนี้
1. โปรแกรมย่อยที่ไม่ได้ใช้งาน จะไม่นำลงหน่วยความจำหลัก
2. โปรแกรมย่อยแต่ละตัวสามารถถูกเขียน และแปลแยกกันได้
3. โปรแกรมย่อยแต่ละตัวมีระดับการป้องกันแต่กต่างกัน
4. โปรแกรมหลักสามารถเรียกใช้โปรแกรมย่อยเหล่านี้ร่วมกันได้
5.1.5 การจัดการแบ่งทางกายภาพ (Physical organization)
หน่วยความจำแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง ลักษณะของหน่วยความจำหลักจะมีราคาแพง ทำงานได้เร็ว แต่เลือนหายได้ ในการทำงานจริง จึงต้องมีการเคลื่อนย้ายทางกายภาพระหว่างหน่วยความจำทั้ง 2 ตลอดเวลา ซึ่งเป็นหน้าที่ของระบบที่ต้องจัดสรรให้ให้สอดคล้องกับการทำงานแบบ multiprogramming
7. การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล<I/O Device Management>
นการทำงานของคอมพิวเตอร์ ถ้าอุปกรณ์นำเข้ามากกว่า1ตัวสามารถส่งข้อมูล เข้าไปยังระบบปฏิบัติการได้พร้อมๆกัน  และพร้อมกันนั้นระบบปฏิบัติการก็อาจต้องส่งข้อมูลจากหลายๆโปรแกรมไปยังอุปกรณ์แสดงผลด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากอัตราการรับส่งข้อมูลของแต่ละอุปกรณ์มีความเร็วต่ำกว่าcpuมาก  ระบบปฏิบัติการจึงต้องเตรียมพื้นที่ส่วนหนึ่งจะเป็นในหน่วยความจ
หรือฮาร์ดดิสก์ก็ตาม เรียกว่า บัฟเฟอร์ Buffer  เพื่อเป็นที่พักของข้อมูลที่อ่านเข้ามา หรือที่เตรียมส่งออกไปยังอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ8. การจัดการกับหน่วยประมวลผลกลาง <CPU Management>
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำงานหลายๆงานพร้อมๆกัน หรือที่เรียกว่า multi-tasking นั้นระบบปฏิบัติการต้องมีการแบ่งเวลาของซีพียู เพื่อประมวลผลงานต่างๆเหล่านั้นด้วยเนื่องจากซีพียู สามารถทำงานได้เพียงทีละหนึ่งคำสั่งเท่านั้นโดยจะมีการสลับการทำงานไปมา ระหว่างโปรแกรมของแต่ละงาน  นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังมีความสามารถในการทำให้ซีพียูตัวเดียวสามารทำงานให้กับผู้ใช้หลายๆคนในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งอาจพบในการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย
9. การรักษาความปลอดภัยของระบบ
สรุปบทที่ 6
 ข้อมูลสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น อาจได้มาจากภายในหรือภายนอกองค์กรซึ่งควรมีคุณสมบัติพื้นฐานประกอบด้วย ความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน ตรงตามความต้องการ มีความสมบูรณ์และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ในการจัดการกับข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ จะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้ เชน บิต ไบต์ ฟีลด์ เรคอร์ด ไฟล์
        โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนสื่อบันทึกข้อมูลสำรองมีอยู่ 3 ลักษณะคือ แบบเรียงลำดับ แบบสุ่ม และแบบลำดับเชิงดัชนี การเลือกใช้ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน สำหรับแฟ้มข้อมูลโดยทั่วไปนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2    ประเภทคือ แฟ้มหลัก ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อยมากนัก และอีกประเภทหนึ่งคือ แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแฟ้มการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อมูลภายในค่อนข้างบ่อยและทำเป็นประจำต่อเนื่องหรือทุกวัน
        ข้อมูลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน เรียกว่า ฐานข้อมูลซึ่งช่วยให้การประมวลผลมีความสะดวกและง่ายยิ่งขึ้นโดยมีแนวคิดที่จะจัดการเก็บข้อมูลเพื่อลดความซับซ้อน ลดความขัดแย้ง รักษาความคงสภาพ อำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ง่ายต่อการเข้าถึงและลดระยะเวลาพัฒนาระบบงาน เครื่องมือสำหรับการจัดการฐานข้อมูลนั้น เรียกว่า “DBMS” ซึ่งเป็นเสมือนผู้จัดการฐานข้อมูลที่จะดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากแต่อย่างใด

สรุปบทที่ 7
ระบบจะเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบอื่นๆหลายส่วน ซึ่งต้องทำงานเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การพัฒนาและออกแบบระบบเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้ระบบสาระสนเทศตรงตามความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป บุคคลที่ทำห้าที่เหล่านี้คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
        สาเหตุที่เราต้องมีการวิเคราะห์ระบบนั้น ก็เพื่อจะศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยหาความต้องการ (Requirements) ให้ได้ว่าต้องการแก้ปัญหาหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ซึ่งมักต้องอาศัยการศึกษาและฝึกถามคำถามด้วยว่าเราจะทำระบบอะไร (What) ทำโดยใคร (Who) ทำเมื่อไร (When) ทำไมต้องทำ (Why) และทำอย่างไรบ้าง (How) ซึ่งจะทำให้เราได้สาระสนเทศรงใจผู้ใช้มากที่สุด
        กระบวนการต่างๆเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนวา เริ่มต้นต้องทำอะไรบ้าง และท้ายสุดแล้วจะต้องดูแลหรือรักษาระบบอย่างไรบ้าง ซึ่งมักแบ่งเป็นขั้นตอนหรือกลุ่มงานที่สำคัญชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการลงมือทำ กระบวนการเหล่านี้เรามักเรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบหรือ SDLC (System Development Life Cycle) ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญๆคือ กำหนดปัญหา (Problem  Recognition),วิเคราะห์ระบบ (Analysis), ออกแบบระบบ (Design) ,พัฒนาระบบ (Implementation),การทดสอบ (Testing) ,ติดตั้งระบบ (Installation) และการบำรุงรักษา (Maintenance) นั่นเอง

สรุปบทที่ 8

 ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือแสดงลำดับการทำงานด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่านขึ้น โดยลักษณะของผังงานมีหลายรูปแบคือ แบบเรียงลำดับ (Sequence) ,แบบมีเงื่อนไข (Decision)  และแบบทำซ้ำ (Loop) ซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะของการทำงานนั้นๆ
        ก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมหรือปฏิบัติงานใดๆควรเขียนขั้นตอนและผังงานเอจัดลำดับความคิดและลำดับการทำงานให้ถูกต้อง ทำให้เห็นภาพรวมของงาน และแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ผิดพลาดไปได้ง่าย โดยไม่ต้องเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น
        เราสามารถเขียนผังงานโดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือต่างๆใช้ในการออกแบบ ซึ่งมีผู้ผลิตโปรแกรมออกมาหลายค่าย ทำให้ลดขั้นตอนและเวลาการทำงานลงไปได้มากยิ่งขึ้น

สรุปบทที่ 9

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อไว้ด้วยกัน เพื่อสามารถทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการคือ การใช้ข้อมูลทำได้ช้า ไม่สามารถใช้ได้ทันทีและยากต่อการควบคุมดูแลในบางกรณี ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปอาจแบ่งได้กว้างๆเป็น 2 ลักษณะคือ LAN และ WAN องค์ประกอบของเคือข่ายประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ลัวกลางนำข้อมูล ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่สายเคเบิ้ลต่างๆ เช่น สาย Coaxial , สาย UTP, คลื่นวิทยุ , สาย Fiber Optic เป็นต้น
        เครือข่ายแบบไร้สาย คือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์คือไม่ต้องเดินสายเหมือน LAN แบบอื่น เหมากับการใช้งานในบ้านหรือท่ซึงไม่สะดวกเดินสาย แต่จะทำความเร็วได้ต่ำกว่าใช้สายหลายเท่า
        การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของคอมทำพิวเตอร์ในเครือข่าย มี 2 แบบใหญ่ๆคือ Peer-to-Peer ซึ่งทุกเครื่องจะมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และแบบ Server-based ซึ่งมีบางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการแก่เครื่องอื่นหรือที่เรียกว่า ไคลเอนด์

สรุปบทที่ 10

 อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด มีการเชื่อมต่อเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องที่เชื่อมต่ออย่เดิม ทั้งนี้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้บริการของ ISP เพื่อขอเปิดการใช้งาน โดยต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อแต่ละประเภท
        การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีทั้งโมเด็มหมุนโทรศัพท์เรียกว่า Dial-up ซึ่งจำกัดความเร็วสูงสุดไม่เกิน 56 Kbps หรือการเชื่อมต่อด้วยการรับส่งข้อมูลด้วยความถี่สูงหรือบรอดแบนด์ (Broadband) เช่น แบบ ISDN , เคเบิล โมเด็ม (Cable Modem) , ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop) และดาวเทียม (Satellite) แต่ที่ใช้กันมากก็มี ISDN และ ADSL
        การทำกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตต้องมีกติกาที่ถูกเครื่อง ทุกโปรแกรมต้องรับรู้และทำตามแบบมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า “โปรโตคอล”


สรุปบทที่ 11
 เทคโนโลยี คือ การเอาควมรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งแขนงของวิชาด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อจัดการกับระบบสารสนเทศที่ต้องการ        ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่นำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับข้อมูลในองค์กร ซึ่งมีผู้ใช้ 3 ระดับคือ ระดับสูง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารสูงสุด  ระดับกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลากรในระดับบริหารและจัดการ เช่น หัวหน้าแผนก หรือหัวหน้าฝ่าย และกลุ่มสุดท้ายคือ ผู้ใช้ระดับปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่ กลุมผู้ปฏิบัติงาน
        เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศได้หลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ฯลฯ สำหรับประเทศไทยเองได้เ,งเห็นความสำคัญ โดยได้วางกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT2010 ขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ    การสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนร้

สรุปบทที่12

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ระหวางผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งแต่เดิมจะใช้ระบบ EDI หรือระบบแลกเปลียนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้คู่ค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลียนเอกสารทางการค้าได้โดยตรง แต่ก็มีความนิยมค่อนข้างน้อย เพราะมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูง ซึ่งมีใช้เฉพาะในวงการอุตสสาหกรรมบางกลุ่มหรือการค้าเฉพาะทางเท่านั้น จนกระทั่งอินเตอร์เน็ตมีการใช้งานแพร่หลาย การแลกเป,ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายมาเป็นการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตแทน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ากันมาก
        รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นมากสุดสามารภแยกออกได้ 3 แบบคือ ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) , ผู้บริโภคกับผู้บริโภค         (C2C) และธุรกิจกัยผู้บริโภค (B2C) สำหรับขั้นตอนการค้านั้นประกอบด้วย การออกแบบและการทำเว็บไซต์ การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล การทำรายงานซื้อขาย การส่งมอบสินค้า และการให้บริการหลังการขาย




สรุปบทที่ 13
จริยธรรมและความปลอดภัย

               เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
       ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม                คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ
มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิดหรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
        ความคิดเรื่องจริยธรรมหลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
  • ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
  •  สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา                ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
  • การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
  • การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
  • การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
  • การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)
การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)
  • การควบคุมอินพุท
  • การควบคุมการประมวลผล
  • การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
  • การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
  • การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
  • การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)
  • การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
  • การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
  • แผนการป้องกันการเสียหาย
  • ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)
  • ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
  • การแปลงรหัส (Encryption)
  • กำแพงไฟ (Fire Walls)
  • การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
  • การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
  • การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)