วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปบทที่6 /แบบฝึกหัดที่6

สรุปบทที่6
บทที่6
ระบบสารสนเทศและระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่าย
           ความหมายของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น 





องค์ประกอบของระบบเครือข่าย
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
          1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย              คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่างๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่างๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
         2. ช่องทางการสื่อสาร             ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
ชนิดของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายได้ดังนี้
           ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)            
  LAN (Local Area Network) จะเป็นเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกันอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในแผนกเดียวกัน อยู่ภายในสำนักงาน หรืออยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น โดยส่วนมากแล้วการเชื่อมต่อในระบบแลนจะใช้สายเคเบิลแบบต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงถึงกัน ระบบเครือข่ายแบบแลนยังรวมถึงเครือข่ายบริเวณมหาวิทยาลัย (Campus network) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลนจากตึกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย (หรือบริเวณพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรม) เข้าด้วยกัน โดยปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงกันด้วยความเร็วสูงผ่านสาย Fiber Optic ระบบเครือข่ายแลน จะเป็นระบบเครือข่ายที่มีการใช้งานในองค์กรต่าง ๆ มากที่สุด ดังนั้นจะมีการกล่าวถึงแลนอย่างละเอียดในส่วนต่อไป
           ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN)              
WAN (Wide Area Network) จะเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่ายแลนตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก เช่น ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ปกติแล้วเครือข่ายแบบแวนจะเชื่อมต่อกันด้วยระบบเครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network) เช่น สายโทรศัพท์ ไมโครเวฟหรือดาวเทียม รวมทั้งบริการ X.25 หรือ ISDN เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีระบบเครือข่ายแบบ MAN (Metropolitan Area Network) หรือระบบเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบแวนที่มีระยะห่างไม่มากนัก เช่น เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงภายในเขตเมือง หรือย่านใจกลางธุรกิจ เป็นต้น การเชื่อมโยงแบบ ปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างตึกต่าง ๆ ด้วยการเชื่อมโยงความเร็วสูงผ่านสายใยแก้วนำแสง และเป็นระบบเครือข่ายสาธารณะที่สามารถทำการเช่าใช้งานจากผู้ให้บริการได้ทันที
ส่วนประกอบของเครือข่าย
          การเชื่อมต่อแบบ Peer to Peer เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่เรียบง่าย ประกอบด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย อย่างเช่น Hub Repeater หรือ Switches Hub
แบบฝึกหัดบทที่6
ระบบสารสนเทศและระบบเครือข่าย
1.ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรทัศน์ อีเมล์โทรทัศน์และอื่นๆ


2.ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ  1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
         2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน          
        3.เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน        
       4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
       5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
       6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


3.ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่(LAN)และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่(WAN)มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  Local Area Network (LAN)
Local Area Network คือ เครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง โดยจะครอบคลุมพื้นที่ไม่ใหญ่มาก เช่น ภายในสํานักงาน ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรหรือบริษัท โดยคอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย อย่างเช่น ฮับ (Hub), สวิทชิ่งฮับ (Switching Hub) หรือ Access Point ด้วยสายคู่ตีเกลียว (Unshield Twisted Pairs หรือ UTP) หรือด้วยคลื่นวิทยุ และอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวการเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายคู่ตีเกลียว (Unshield Twisted Pairs หรือ UTP) หรือสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการสื่อสารแบบคลื่นวิทยุ (Wireless) แบบใดแบบหนึ่งหรือผสมผสานกันก็ได้ และแต่เครือข่าย Local Area Network (LAN) จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อเราเตอร์ (Router)
                 Wide Area Networks (WAN)
Wide Area Networks (WAN) คือ เครือข่ายที่เกิดจากการเชื่อมตอเครือข่ายแบบ LAN ที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เข้าด้วยกัน โดยจะที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่กว่าแบบ MAN เช่น การเชื่อมตอระบบเครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างประเทศ โดยจะเชื่อมต่อด้วย คู่สายเช่า (Leased line) ระบบไมโครเวฟ หรือผ่านดาวเทียม และการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละโหนดนั้นอาจมีความเร็วไม่สูงมาก


4.จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ  1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
         2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน          
         3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน        
         4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
         5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
         6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


5.รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ 1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
         2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน         
         3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน       
          4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
          5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
          6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

     6.ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณ์ อะไรบ้าง
ตอบ   ช่องทางการสื่อสาร  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด
1.ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pairWire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)
2.ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์


     7.สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพน์  สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร ตอบ   สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)               
           สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
          -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)               
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
          -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)               
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 




     8.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนะล็อก  กับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ  1. สัญญาณแบบแอนะล็อก (Analog Signal) จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆ ค่า ที่เปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบนี้จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากค่าทุกค่าถูกนำมาใช้งาน ซึ่งสัญญาณแบบแอนะล็อกนี้จะเป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
        2. สัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Signal) จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาลอกเนื่องจากมีการใช้งานค่าสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ0/1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น